ศูนย์ข่าวสาร | ประเทศไทย | 中國台灣

พ.ย. 25, 2560

ฟิลิปส์ ร่วมรณรงค์ให้ความรู้เรื่อง “โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD)”


เนื่องในวันที่ 15 พฤศจิกายนนี้ เป็นวันโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังโลก (World COPD Day) ฟิลิปส์ร่วมรณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับ “โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง” โรคที่ยังไม่มีทางรักษาและหลายคนยังไม่เคยรู้ พร้อมสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังผ่านเรื่องราวของ “รัสเซล วินวู๊ด”

กรุงเทพฯ ประเทศไทย - รอยัล ฟิลิปส์ (NYSE: PHG, AEX: PHIA) ในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ จับมือกับมูลนิธิโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD Foundation) ร่วมรณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ซึ่งเป็นสาเหตุการตายอันดับที่ 4 ของคนทั่วโลก และคาดการณ์ว่าจะขยับขึ้นเป็นอันดับ 3 ภายในปี 20201 และคร่าชีวิตผู้คนกว่า 3 ล้านคนต่อปี2 พร้อมสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังผ่านเรื่องราวของ “รัสเซล วินวู๊ด” นักกีฬาชาวออสเตรเลีย วัย 49 ปี ผู้ที่ต่อสู้กับโรคอย่างเข้มแข็ง

 

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หรือโรคซีโอพีดี (COPD: Chronic Obstructive Pulmonary Disease) เป็นโรคที่พบมาก แต่ปัจจุบัน ประชาชนจำนวนมากยังขาดความตระหนัก และความเข้าใจเกี่ยวกับโรคดังกล่าว ซึ่งมีการคาดการณ์ว่ามีจำนวนผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมากกว่า 210 ล้านรายทั่วโลก แต่ยังมีผู้ป่วยเพียงครึ่งเดียวเท่านั้นที่ได้รับการวินิจฉัยอย่างถูกต้อง3 สำหรับประเทศไทย พบผู้เสียชีวิตจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมากขึ้นทุกปี จากสถิติพบว่าอัตราการเสียชีวิตของคนไทยจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเพิ่มขึ้นถึง 1.3 เท่า ในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา โดยอัตราการเสียชีวิตจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมีถึง 40 คนต่อประชากร 100,000 คน4 ซึ่งสาเหตุหลักเกิดจากการสูบบุหรี่ จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขพบว่าร้อยละ 90 ของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมีสาเหตุมาจากการสูบบุหรี่ นอกจากนี้ อาจพบสาเหตุจากมลพิษทางอากาศ การหายใจเอาละอองสารเคมีบางอย่างเป็นปริมาณมากและติดต่อกันเป็นเวลานานๆ และพันธุกรรมได้อีกด้วย

 

ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมักมีอาการหายใจลำบาก เหนื่อยง่าย ไอเรื้อรัง มีเสมหะมาก หรืออาจมีอาการหายใจเสียงดังวี๊ดๆ หรือรู้สึกเจ็บหน้าอกร่วมด้วยได้ สำหรับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังยังไม่มีแนวทางการรักษาที่แน่ชัด สามารถทำได้เพียงการรักษาแบบประคับประคองตามอาการและชะลอความก้าวหน้าของโรคได้เท่านั้น ดังนั้น วิธีการดูแลผู้ป่วยอย่างมีคุณภาพเพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตและดำเนินชีวิตประจำวันได้ ถือเป็นสิ่งที่สำคัญมาก และที่สำคัญควรหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้อาการของโรคเลวร้ายลง

Russel's COPD story

รัสเซล วินวู๊ด นักไตรกีฬาชาวออสเตรเลีย กล่าวว่า “ตอนที่ผมทราบว่าตัวเองป่วยเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังผมรู้สึกหมดหวังมาก ผมรู้สึกไม่ง่ายเลยในการดำเนินชีวิตประจำวันตามปกติต่อไป แต่ถ้าย้อนเวลากลับไปได้ ผมอยากบอกตัวเองว่าการเป็นโรคนี้ไม่ได้แปลว่าผมจะต้องตาย แล้วก็ไม่ได้แปลว่าผมจะต้องยอมพ่ายแพ้และหยุดทำในสิ่งที่ผมรัก ผมขอบคุณกำลังใจจากภรรยาและครอบครัวของผม ที่ทำให้ผมลุกขึ้นสู้และไม่ยอมให้โรคนี้มาควบคุมชีวิตผมได้”

Running with COPD

เพียงหกเดือนหลังจากวันที่ รัสเซล เข้ารับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เขาสามารถพิชิตการแข่งไตรกีฬารายการ The IRONMAN ได้สำเร็จ และยังคงเข้าแข่งขันไตรกีฬารอบโลก เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้ป่วยทุกคนเห็นว่าการป่วยเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังนั้น ไม่จำเป็นต้องทำให้คุณหยุดการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้ โดย รัสเซลยังได้แชร์ 4 ข้อควรรู้เกี่ยวกับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เพื่อหวังว่าจะช่วยให้ความรู้และเป็นกำลังใจให้ผู้ป่วยคนอื่นๆ

  • มีความเข้าใจต่อโรค: ผู้ป่วยควรมีความเข้าใจเกี่ยวกับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังอย่างชัดเจน โดยผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ที่ให้การรักษาอย่างใกล้ชิด เพื่อวางแผนการดูแลและปฏิบัติตัวอย่างถูกต้อง
  • เข้าใจทางเลือกการรักษา: ถึงแม้ว่าโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ยังมีอีกหลากหลายแนวทางในการรักษาอาการของโรค และชะลอความก้าวหน้าของโรคได้ อาทิ การใช้ยารักษาอาการต่างๆ การใช้เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก (PAP) การใช้เครื่องผลิตออกซิเจนแบบพกพา หรือการใช้เครื่องช่วยหายใจ เพื่อช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น ซึ่งจากการศึกษาพบว่าหากผู้ป่วยมีความเข้าใจเกี่ยวกับทางเลือกการรักษาอย่างถูกต้อง จะช่วยให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • มีโภชนาการที่ดี: ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ตามหลักโภชนาการ เพราะการรับประทานอาหารที่ไม่ดีนั้นจะส่งผลโดยตรงกับร่างกายผู้ป่วยและอาจจะทำให้อาการแย่ลงได้ เช่น การเลือกรับประทานอาหารที่ให้โปรตีน วิตามินสูง ผัก ผลไม้สด และอาหารที่มีเส้นใยสูง เป็นต้น อาหารที่ถูกหลักโภชนาการมีส่วนช่วยให้ผู้ป่วยหายใจได้ดีขึ้น
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ: การออกกำลังกายสามารถช่วยเพิ่มระดับความแข็งแรงของปอดและหัวใจได้ ด้วยการเสริมสร้างกล้ามเนื้อมัดใหญ่ภายในร่างกาย และเพิ่มอัตราการไหลเวียนโลหิตให้ดีขึ้น

Managing COPD

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเป็นโรคที่พบได้บ่อยและร้ายแรงถึงชีวิต แต่มักไม่ได้รับการวินิจฉัยอย่างถูกต้อง และผู้ป่วยไม่สามารถหาแนวทางการรักษาได้อย่างเหมาะสม และยังมีค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูง

ด้วยความมุ่งมั่นของฟิลิปส์ เราได้ศึกษาค้นคว้าไปจนถึงการพัฒนาโซลูชั่นบำบัดที่เป็นนวัตกรรมใหม่ เพื่อช่วยให้การวินิจฉัยและการรักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น และช่วยให้ผู้ป่วยมีชีวิตที่ดีขึ้น”

ดร.ทีโอฟิโล ลี-ชิออง

หัวหน้าด้านประสานงานการแพทย์ของฟิลิปส์

ฟิลิปส์ ได้เสนอแนวทางการจัดการกับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและปัญหาระบบทางเดินหายใจ ที่สามารถดูแลผู้ป่วยได้ดีขึ้นตั้งแต่การป้องกัน การวินิจฉัย การรักษา การดูแลรักษาผู้ป่วยทั้งขณะที่อยู่โรงพยาบาลและที่บ้าน เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ ซึ่งนวัตกรรมสำคัญจากฟิลิปส์ เพื่อช่วยดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ได้แก่ เครื่อง OptiChamber Diamond spacer เครื่องพ่นละอองยา InnoSpire series, เครื่องออกซิเจนแบบพกพา SimplyGo Mini, เครื่องช่วยหายใจขณะหลับและเครื่องอัดอากาศแรงดันบวกในตระกูล DreamStation Advanced Therapies, และเครื่องช่วยหายใจ Trilogy โดยนวัตกรรม DreamStation และTrilogy ของฟิลิปส์นั้น สามารถเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างผู้ป่วยและแพทย์ได้ผ่าน Care Orchestrator ซึ่งถือว่าเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางการแพทย์ในรูปแบบที่สะดวกและรวดเร็วขึ้น และคาดว่าจะนำมาใช้ในประเทศไทยในอนาคต

 

1 Global Initiative for Chronic Obstructive Lung Disease, 2017. Retrieved from: http://goldcopd.org/gold-2017-global-strategy-diagnosis-management-prevention-copd

2 http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs315/en/

3 COPD Foundation, COPD Uncovered Report. 2011. Retrieved from: https://www.copdfoundation.org/pdfs/copd-uncovered-report-2011.pdf

4 Global Disease Burden, 2017. Retrieved from: http://global-disease-burden.healthgrove.com/l/46260/Chronic-Obstructive-Pulmonary-Disease-in-Thailand

เกี่ยวกับ รอยัล ฟิลิปส์

รอยัล ฟิลิปส์ (NYSE: PHG, AEX: PHIA) เป็นบริษัทชั้นนำด้านเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ มุ่งเน้นการพัฒนาด้านสุขภาพของผุ้คนให้ดีขึ้น และการเสริมสร้างสุขภาพแบบครบวงจร ตั้งแต่ความเป็นอยู่ที่ดี การป้องกัน การตรวจวินิจฉัย การรักษา และการดูแลรักษาตัวเองที่บ้าน ฟิลิปส์ได้นำเทคโนโลยีขั้นสูง ข้อมูลเชิงลึกทางคลีนิก และความต้องการของผู้บริโภค มาพัฒนาเพื่อส่งมอบโซลูชั่นที่ครบวงจร ฟิลิปส์ เป็นผู้นำระดับโลกด้านนวัตกรรมการตรวจวินิจฉัยและการรักษาด้วยภาพนำวิถี เครื่องตรวจวัดชีพจรผู้ป่วย และสารสนเทศด้านสุขภาพ รวมถึงนวัตกรรมเพื่อการดูแลสุขภาพของผู้บริโภคและการดูแลรักษาที่บ้าน สำนักงานใหญ่ฟิลิปส์ตั้งอยู่ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยในปีพ.ศ. 2559 พอร์ทโฟลิโอด้านเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพของฟิลิปส์ สร้างยอดขายได้ถึง 17.4 พันล้านยูโร โดยฟิลิปส์ดำเนินธุรกิจอยู่ในทั่วโลกมากกว่า 100 ประเทศ และมีพนักงานประมาณ 71,000 คน  100 ประเทศทั่วโลก สามารถติดตามข่าวสารฟิลิปส์เพิ่มเติมได้ที่   www.philips.com/newscenter

อ่านเพิ่มเติมอ่านน้อยลง

หัวข้อ

ข้อมูลติดต่อ

Chadajit Polsuppanich

Chadajit Polsuppanich

Corporate Communication Manager

เนื้อหาของสื่อ

แชร์ในโซเชียลมีเดีย

ข่าวที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

You are about to visit a Philips global content page

Continue

ไซต์ของเราสามารถดูได้ดีที่สุดด้วย Microsoft Edge, Google Chrome หรือ Firefox เวอร์ชันล่าสุด